วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

การวัดประเมินผลสัปดาห์ที่ 2


แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนที่ 1  สัปดาห์ที่ 2
แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนที่ 1  สัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 2


กิจกรรมการเรียนรู้ 
สัปดาห์ที่ 2 
      1.ทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้ weblog
      2.เข้าไปศึกษาเนื้อหาใน http://dechadakorn.blogspot.com/
      3.รายงายตามกลุ่มที่กำหนดไว้ให้เสร็จตามเนื้อหาที่กำหนด
      4.สรุปเนื้อหาใน   สัปดาห์ที่ 2              
            3.ความหมายและลักษณะของการพัฒนาการ                         
            4.เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการในแต่ละวัย 
      5.กิจกรรมเกม ออกกำลังกายด้วยการร้องเพลง     เพลงออกกำลังกาย
                                            เพลงออกกำลังกาย 
                    ออกกำลังด้วยการร้องรำทำเพลง     ให้ครื้นเครงเสียงเพลงบรรเลงจับใจ 
                    รำร้องกันไปไม่มีหม่นหมองฤทัย    เพราะเราเพลินใจด้วยการร้องรำทำเพลง
    ท่าเริ่มต้น 
           จับเป็นคู่ จับมือด้านในกับคู่หรือจะเดี่ยวเป็นวงเดียวก็ได้ ยืนหัวหน้าทวนเข็มนาฬิกา
  1. เอาปลายเท้าซ้ายแตะข้างหน้า เอาไปแตะทางข้าง แล้วเดินเกรพวินไปทางขวา
    (เกรพวิน = ถอยเท้าซ้ายวางข้างหลังก้าวเท้าขวาไปข้าง ก้าวซ้ายไปชิดเท้าขวา)
  2. ทำเหมือนข้อ 1 แต่เปลี่ยนเป็นเท้าขวาในทิศทางตรงข้าม
  3. เดินไปข้างหน้า 4 ก้าว เริ่มต้นด้วยเท้าซ้าย (ซ้าย - ขวา - ซ้าย - ขวา)
  4. แตะเท้าซ้ายไปข้างหน้า แตะเท้าซ้ายไปข้างหลัง ย่ำเท้าอยู่กับที่ 3 ครั้ง (ซ้าย - ขวา - ซ้าย) แล้วเริ่มต้นเปลี่ยนเป็นเท้าขวา
   ข้อเสนอแนะ 
      ใช้เพลงการเต้นรำพื้นเมือง เพลงสิบสาวน้อย (TEN PRETTY GIRLS)

     6.มอบหมายงานให้นักเรียนชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ของตนเองสัปดาห์ละครั้ง และ
         จดบันทึกไว้ ทำจนครบ 2 เดือน แล้วมารายงานความเปลี่ยนแปลงตนเองหน้า
         ชั้นเรียน
      7.ให้นักเรียนแสดงกราฟการเจริญเติบโตของตนเองหน้าชั้นเรียน ในอีก 4 สัปดาห์ ต่อไป
      8. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดผลความรู้ความเข้าใจ โดยใช้ weblog
    9.ให้สรุปเนื้อหาลงในช้องความช่ิงแสดงความคิดเห็น ในหัวข้อ เนื้อหา  ความหมายและลักษณะของการพัฒนาการ  และ  เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการในแต่ละวัย สัปดาห์ที่ 2

เพลงร่างกายของเรา

การวัดประเมินผลสัปดาห์ที่ 1

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนที่ 1  สัปดาห์ที่ 1
แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนที่ 1  สัปดาห์ที่ 1

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ลักษณะการพัฒนาการมนุษย์ เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการในแต่ละวัย ( สัปดาห์ที่ 2 )


ลักษณะการพัฒนาการมนุษย์

พัฒนาการมนุษย์
1.การเปลี่ยนแปลงทางขนาด 
         การเปลี่ยนแปลงชนิดนี้จะเห็นได้ชัด คือทางด้านร่างกายและทางด้านสติปัญญา    เด็กจะค่อย ๆ  สูงขึ้น มีน้ำหนักมากขึ้น รูปร่างขยายใหญ่ขึ้น อวัยวะภายใน เช่นหัวใจ ลำไส้ กระเพาะอาหาและปอด ก็ขยายใหญ่ขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของร่างกายที่เพิ่มขึ้น ส่วนพัฒนาการทางด้านสติปัญญาก็เพิ่มมากขึ้น ทั้งความจำ ความสามารถรับรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการใช้เหตุผล

2.การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วน
    สัดส่วนของเด็กกับผู้ใหญ่นั้นแตกต่างกันมาก โดยรูปร่างของเด็กไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ย่อลงมา ขนาดของศรีษะเมื่อแรกเกิดจะเป็น 1 / 4 ของความยาวของหัวจรดเท้า แต่ขนาดศรีษะของผู้ใหญ่จะเป็น 1 / 8 ของความยาวของหัวจรดเท้า เมื่ออายุประมาณ  13  ปี สัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีขนาดใกล้เคียงกับผู้ใหญ่

3.ลักษณะเดิมหายไป 
         เป็นการเปลี่ยนแปลงในขณะที่เด็กเจริญเติบโตขึ้น  ลักษณะที่มีอยู่เดิมจะหายไป เช่น  ฟันน้ำนม  ขนอ่อน  ผมไฟ  หรือการพูดจาจะชัดเจนขึ้น  เคยคืบคลานก็จะเปลี่ยนไปยืนเดิน  และวิ่งในที่สุด

4.มีลักษณะใหม่ ๆ  เกิดขึ้น
         บางอย่างมีผลมาจากวุฒิภาวะทางด้านร่างกายจะเห็นได้ชัด  เช่น ฟันแท้ขึ้นแทนฟันน้ำนม  การมีขนเกิดขึ้นตามอวัยวะเพศและรักแร้ของวัยรุ่น  การมีหนวดเครา  และเกิดหลั่งอสุจิในชาย  การมีทรวดทรงและประจำเดือนในผู้หญิง  การปรับปรุงบุคลิกภาพใหม่ ๆ การศึกษาหาความรู้  

ลักษณะของการพัฒนาการ

1.พัฒนาการเป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์จะมีพัฒนาการเป็นของตนเอง โดยจะไม่เหมือนกันและมีแบบแผนการพัฒนาคล้ายกัน เช่น เด็กทุกคนสามารถคว่ำได้ก่อนคลาน ยืนได้ก่อนเดิน

2.พัฒนาการไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม จะเริ่มจากส่วนใหญ่ได้ก่อนส่วนย่อย ส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง และจากส่วนกลางไปสู่ส่วนข้างที่ไกลตัวออกไป เช่น  เด็กสามารถขยับแขนขาได้ก่อนนิ้ว  สามารถมองเห็นของใหญ่ได้ก่อนของเล็ก ศรีษะของเด็กจะเจริญเติบโตเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

3.พัฒนาการทั้งหลายเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกันไป โดยพัฒนาการทุกขั้นดำเนินการมาตั้งแต่อดีตและดำเนินการมาเรื่อย ๆ ต่อไปอีก เช่น  ฟันของเด็กที่งอกเมื่ออายุ 6 เดือน นั้น  มีพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาแล้ว

4.อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปได้ เนื่องจากธรมชาติได้สร้างเด็กแต่ละคนให้มีลักษณะต่าง    กัน บางคนเจริญเติบโตช้า  บางคนเจริญเติบโตเร็ว ถือว่าไม่ใช่เรื่องน่าวิตกแต่อย่างใด

5.อัตราพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแตกต่างกัน โดยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมิได้เจริญเติบโตด้วยอัตราเร็วเท่ากันหมด บางส่วนอาจเจริญเร็วกว่าบางส่วน เช่น ขนาดสมองจะเจริญเร็วอย่างถึงที่สุดเมื่อประมาณอายุ 6 - 8 ปี ส่วนมือ เท้า จมูก จะเจริญสูงสุดเมื่อเข้าสู่วัยแรกรุ่น  หัวใจ  ปอด  ตับ และระบบย่อยอาหารจะเจริญอย่างรวดเร็วในระยะวัยรุ่น สำหรับความคิดสร้างสรรค์จะเจริญได้เร็วในวัยเด็กและถึงสูงสุดเมือ่ย่างเข้าสู่วันหนุ่มสาว

6.พัฒนาการของคุณสมบัติต่าง ๆ มักจะสัมพันธ์กัน เช่น เด็กเฉลียวฉลาดร่างกายสมบูรณ์ มักเรียนหนังสือได้ดีสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ง่าย ส่วนเด็กที่มีสติปัญญาที่ไม่ค่อยดีนักหรือเด็กที่มีสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ มักเรียนหนังสือไม่เก่งและยังปรับตัวเข้ากับสังคมได้ไม่ดีอีกด้วย แต่บางกรณีเด็กที่สุขภาพไม่ดี ไม่ได้เล่นกีฬาและสังคมกับเพื่อนฝูง แต่มุ่งมั่นสนใจเรียน ทำให้เรียนเก่งได้เหมือนกัน

7.พัฒนาการของเด็กอาจทำนายได้ เนื่องจากอัตราพัฒนาการของเด็กที่ปกติ ส่วนใหญ่มักคงที่ เราจึงพอที่จะทำนายได้ว่า จะมีพฤติกรรมใดเกิดขึ้นเวลาใด เช่น เด็กมักพูดได้เมื่ออายุ 16 เดือนและเริ่มเดินได้เมื่ออายุ 14 เดือน

8.พฤติกรรมบางชนิด ผู้ใหญ่อาจถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหา แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นพฤติกรรมที่ปกติของเด็ก ซึ่งเป็นไปตามลักษณะของการพัฒนาการนั่นเอง เช่น เด็กอายุ 3 ปี จะมีพฤติกรรมที่ไม่สมดุลกัน เช่น กลัวตกจากที่สูง ชอบกัดเล็บ มีอารมร์ไม่มั่นคงต้องการให้มีคนคอยสนใจ พฤติกรรมดังกล่าวจะหายไปเมื่ออายุมากขึ้น

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการในแต่ละวัย

การเจริญเติบโตของร่างกาย
การเจริญเติบโตของมนุษย์

          พืชและสัตว์มีการเจริญเติบโต ตัวเราก็มีการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับต้นพืช เมื่อก่อนเราตัวเล็ก เดี๋ยวนี้เราตัวโตขึ้น ที่เราตัวโตขึ้น เพราะเราได้กินอาหารทุกวัน อาหารที่เหมาะสม และช่วยให้เด็กๆ อย่างพวกเราเจริญเติบโตได้ดีชนิดหนึ่ง คือ นม
              การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ จะช่วยให้ร่างกายของเราเจริญเติบโตและแข็งแรง สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายของเรามีการเจริญเติบโต คือ การมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น ความสูงของร่างกายคนเรา จะเพิ่มขึ้นอย่างพอเหมาะกับน้ำหนักตัวเรา เด็กผู้หญิงจะมีส่วนสูงเต็มที่เมื่อมีอายุระหว่าง 14-15 ปี หลังจากนั้นก็จะสูงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วยเด็กผู้ชายส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นที่เมื่ออายุระหว่าง 17-18 ปี หลังจากนั้นส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
การเจริญเติบโตของร่างกายในวัยต่างๆ    ร่างกายคนเรา มีการเจริญเติบโตจากวัยทารกสู่วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละวัยขนาดของร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป
การเจริญเติบโตทางร่างกายของคนเรา
 สังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้
    -น้ำหนัก
    -ส่วนสูง
    -ความยาวของลำตัว
    -ความยาวของช่วงแขนเมื่อกางเต็มที่
    -ความยาวของเส้นรอบวงศีรษะ
    -ความยาวของเส้นรอบอก
    -การขึ้นของฟันแท้
เด็กวัยทารกหรือเด็กวัยแรกเกิด
    เด็กวัยแรกเกิดจะมีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสามปี จะมีการเจริญเติบโตโดยมีสัดส่วนของศีรษะต่อลำตัวเป็น 1 ต่อ 4

เด็กก่อนวัยเรียน
    ในวัยนี้จะมีอายุอยู่ในช่วง 3-6 ปี รูปร่างและสัดส่วนของเด็กจะเปลี่ยนไปจากวัยแรกเกิด ดังนี้
รูปร่างค่อยๆ ยืดตัวออกใบหน้าและศีรษะเล็กลงเมื่อเทียบกับลำตัว มือและเท้าใหญ่และแข็งแรง อกและไหล่ขยายกว้างขึ้น แต่หน้าท้องแฟบลง 
เด็กวัยเรียน
    เด็กในวัยเรียนอายุระหว่าง 6-12 ปี จะมีการเจริญเติบโต ดังนี้
น้ำหนักโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อปี ส่วนสูงเพิ่มประมาณ 4-5 เซนติเมตรต่อปี ฟันน้ำนมจะเริ่มหักเมื่ออายุประมาณ 6 ปี และจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการในแต่ละวัย
          เมื่อคนเราเจริญเติบโต จะมีการพัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เติบโตตามมาด้วย คนเราต้องรู้จัก รักษาสมดุลของร่างกายเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ผลของการเจริญเติบโตที่เห็นได้ชัดเจน คือ การเจริญเติบ โตทางด้านร่างกายทั้งน้ำหนักและส่วนสูง เราควรรู้จักรักษาสุขภาพของตนเอง โดยเปรียบเทียบน้ำหนัก เกณฑ์มาตรฐานได้ถูกต้อง
     ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบส่วนสูงมาตรฐานของเด็กและเยาวชนไทยใน พ.ศ.2534 ซึ่งกรมอนามัย คาดหวังไว้
อายุ(ปี)
ชาย (ส่วนสูงไม่น้อยกว่า)เซนติเมตร
หญิง (ส่วนสูงไม่น้อยกว่า)เซนติเมตร
5
109.0
108.3
6
114.6
114.0
7
119.6
119.3
8
124.6
124.6
9
129.4
129.6
10
134.2
135.5
11
139.2
142.6
12
145.8
149.6
13
153.8
153.5
14
160.5
155.8
15
164.8
157.3
16
167.7
157.5
17
168.8
157.6
18
169.4
157.6
19
169.5
157.6
20
169.6
157.7


แหล่งที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2534

พัฒนาการเด็ก 1ขวบ 8 เดือน-6ขวบ


ร่างกายมนุษย์

ความหมายของการปฏิสนธิ และลักษณะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ (สัปดาห์ที่ 1)


การปฎิสนธิในมนุษย์

ความหมายของการปฏิสนธิ

ความหมายของการปฏิสนธิ
การปฏิสนธิ คือ การที่อสุจิเพศผู้เข้าผสมกับไข่ของเพศเมีย โดยที่ไข่ 1 ใบ ผสมกับอสุจิ 1 ตัว หรือกระบวนการที่เซลล์ของเพศชาย รวมกับเซลล์ของเพศหญิง ทำให้เกิดเซลล์ใหม่

การปฏิสนธิ
การปฏิสนธิมี 2 แบบด้วยกัน คือ
    1. การปฏิสนธิภายนอก เช่น การผสมเทียมเด็กหลอดแก้ว
    2. การปฏิสนธิภายใน เช่น การฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก


        หลังจากเกิดการปฏิสนธิเรียบร้อยแล้ว ตัวอสุจิกับไข่จะรวมเป็นเซลล์เดียวกัน เรียกว่า ไซโกต ต่อมา ไซโกตจะแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์จาก 2เซลล์เป็น 4 เซลล์ จาก 4 เซลล์เป็น 8 เซลล์ เรื่อยไปตามลำดับจนได้หลายเซลล์ มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อน การบีบตัวของท่อนำไข่จะทำให้ ก้อนนี้เคลื่อนเข้าสู่โพรงมดลูก โดยใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน แล้วฝังตัวที่ผนังชั้นในของมดลูกหรือเยื่อ บุโพรงมดลูก เพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไป ซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ 260 วัน หรือ 37 สัปดาห์ จึง จะครบกำหนดคลอด

ขั้นตอนการปฏิสนธิ
     1.เมื่อไข่ตกจากรังไข่แล้วจะเคลื่อนตัวไปตามท่อรังไข่ ซึ่งเยื่อบุท่อรังไข่จะมีขนช่วยพัดโบกและนำพาไข่ไปจนถึงตำแหน่งที่จะพบกับ อสุจิ ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์จนถึงจุดสุดยอด ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิซึ่งมีสเปิร์มถึง 400-500 ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง



     2. เมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง สเปิร์มจะผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและผ่านไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก โดยปกติอสุจิจะเดินทางด้วยอัตรา 2-3 มิลลิเมตรต่อนาที แต่สเปิร์มจะเคลื่อนที่ช้าลงในช่องคลอดที่มีสภาพเป็นกรด เคลื่อนที่เร็วขึ้นเมื่อผ่านจากปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกที่มีความเป็นด่าง ซึ่งกว่าอสุจิจะผ่านพ้นเข้าไปในท่อรังไข่ได้นั้น จำนวนอสุจิ 400-500 ล้านตัวในขณะหลั่ง จะเหลือรอดได้เพียงไม่กี่ร้อยตัวที่มีโอกาสไปผสมกับไข่ ส่วนหัวของอสุจิจะปล่อยสารย่อย (Enzyme) ซึ่งสามารถละลายผนังที่ห่อหุ้มปกป้องไข่ออกได้ จะมีอสุจิเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่เจาะเข้าสู่ไข่ได้สำเร็จ อสุจิตัวอื่น ๆ จะไม่สามารถเข้าไปได้อีก จากนั้นอสุจิจะสลัดหางและย่อยส่วนหัว เพื่อปลดปล่อยไมโครโซมทั้ง 23 แท่งที่บรรจุอยู่ภายในส่วนหัวเข้าสู่ไข่เพื่อจับคู่ของตัวเองกับไมโครโซมอีก 23 แท่งในไข่ และหลอมรวมตัวกันกลายเป็นเซลเซลเดียวเรียกว่า เกิดการปฏิสนธิขึ้น

     3.หลังเกิดการปฏิสนธิ เซลจะมีการแบ่งตัวทวีคูณในเวลาอันรวดเร็ว จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 ฯลฯ การแบ่งตัวจะเกิดอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผสมแล้ว เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ และภายใน 7 วัน จะเคลื่อนไปถึงตำแหน่งที่จะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ไข่ที่ผสมแล้วจะมีลักษณะกลม โดยประกอบด้วยเซลประมาณ 100 เซล เมื่อไข่ที่ผสมแล้ว(ตัวอ่อน)ฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งมีลักษณะนุ่มและ หนา เมื่อยึดเกาะกันมั่นคงดี จึงจะถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ ไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน) จะยื่นส่วนอ่อนนุ่มแทรกลึกลงไปในผนังมดลูกเพื่อสร้างทางติดต่อกับเลือกของ แม่ และจะเจริญเป็นรกสร้างสายสะดือและถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มต่อไป ซึ่งตัวอ่อนจะมีเนื้อเยื่อพิเศษ 3 ชั้น ซึ่งต่อไปแต่ละชั้นจะสร้างเป็นอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทารกน้อย
      4.เอ็มบริโอจะมีลักษณะทุกอย่างเหมือนกับคน และกระดูกในร่างกายจะเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแข็ง โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
     อายุ 3 สัปดาห์ เริ่มมีหัวใจ สมอง และกระดูกไขสันหลัง
     อายุ 4 สัปดาห์ เริ่มมี ตา ปุ่มแขน และปุ่มขา
     อายุ 5 สัปดาห์ ปุ่มแขนและปุ่มขาขยาายขนาดใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ
     อายุ 6 สัปดาห์ เริ่มมีหู
     อายุ 7 สัปดาห์ เริ่มมีแผดานในช่องปาก
     อายุ 8 สัปดาห์ เริ่มปรากฏอวัยวะเพศภายนอก กนะดูกในช่องปากเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดุกแข็ง และมีทุกอย่างเหมือนคน หลังจากนั้นเป็นการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆทั้งภายนอก และภายใน เพื่อให้สมบูรณ์ และพร้อมที่จะทำงานได้ อายุ 38 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน คลอดออกมาเป็นทารก

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเจริยเติบโตของทารกในครรภ์


ลักษณะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
 
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน คือ

 

1.ระยะไข่ตก (Ovulation) ได้แก่ ระยะ 2 สัปดาห์แรก ปกติเดือนหนึ่งจะมีไข่ตกเพียง 1 ฟองโดยประมาณช่วงกลางของรอบเดือน (วันที่ 12-16) ไข่จะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในท่อนำไข่ (ส่วนโป่ง) ถ้ามีการร่วมเพศในระยะนั้น อสุจิตัวหนึ่งจากจำนวนหลายล้านตัว จะเข้าผสมกับไข่ แล้วมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 เป็นต้น เมื่อมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น จะโตเป็นก้อนดูคล้ายผลน้อยหน่า ระยะนี้เรียกว่า ระยะมอรูลาร์ (Morular) แล้วผ่านเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ซึ่งเป็นระยะที่ไข่ผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและฝังตัว ตำแหน่งที่ไข่ฝังตัวนี้จะกลายเป็นรกในเวลาต่อมา เพื่อเป็นสื่อนำอาหารจากมารดามาเลี้ยงทารกในขณะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ 




2.ระยะคัพภะ (Embryo) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3-7 หรือ 8 เป็นระยะที่มีการสร้างอวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย (Organogenesis) เช่น หัวใจ ตา หู ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ แขน ขา เป็นต้น ระยะนี้เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุดสำหรับการติดเชื้อหรือการกินยา บางอย่าง เพราะอาจทำให้เด็กที่เกิดมานั้นพิการได้




 

         3.ระยะตัวอ่อน (Fetus) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ 7 หรือ 8-40 เป็นระยะของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นในระยะคัพภะเพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อตัวอ่อนคลอดมาเป็นทารก เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น  ในระยะตัวอ่อนนี้ เมื่ออายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ มีไข่เคลือบทั่ว อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานได้ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม  เมื่ออายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,600-2,000 กรัม เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะ การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนด ถ้าคลอดในระยะนี้มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น  เมื่ออายุครรภ์ครบ 36 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 45 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2,000-2,400 กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไป แต่ยังมีไขเคลือบอยู่ อวัยวะต่างๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่  และเมื่ออายุครบ 40 สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด อวัยวะต่างๆ ของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักตัวไม่ควรน้อยกว่า 2,500 กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มารดารู้สึกว่า "ท้องลด" หายอึดอัด สบายขึ้น