วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายของการปฏิสนธิ และลักษณะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ (สัปดาห์ที่ 1)


การปฎิสนธิในมนุษย์

ความหมายของการปฏิสนธิ

ความหมายของการปฏิสนธิ
การปฏิสนธิ คือ การที่อสุจิเพศผู้เข้าผสมกับไข่ของเพศเมีย โดยที่ไข่ 1 ใบ ผสมกับอสุจิ 1 ตัว หรือกระบวนการที่เซลล์ของเพศชาย รวมกับเซลล์ของเพศหญิง ทำให้เกิดเซลล์ใหม่

การปฏิสนธิ
การปฏิสนธิมี 2 แบบด้วยกัน คือ
    1. การปฏิสนธิภายนอก เช่น การผสมเทียมเด็กหลอดแก้ว
    2. การปฏิสนธิภายใน เช่น การฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก


        หลังจากเกิดการปฏิสนธิเรียบร้อยแล้ว ตัวอสุจิกับไข่จะรวมเป็นเซลล์เดียวกัน เรียกว่า ไซโกต ต่อมา ไซโกตจะแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์จาก 2เซลล์เป็น 4 เซลล์ จาก 4 เซลล์เป็น 8 เซลล์ เรื่อยไปตามลำดับจนได้หลายเซลล์ มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อน การบีบตัวของท่อนำไข่จะทำให้ ก้อนนี้เคลื่อนเข้าสู่โพรงมดลูก โดยใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน แล้วฝังตัวที่ผนังชั้นในของมดลูกหรือเยื่อ บุโพรงมดลูก เพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไป ซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ 260 วัน หรือ 37 สัปดาห์ จึง จะครบกำหนดคลอด

ขั้นตอนการปฏิสนธิ
     1.เมื่อไข่ตกจากรังไข่แล้วจะเคลื่อนตัวไปตามท่อรังไข่ ซึ่งเยื่อบุท่อรังไข่จะมีขนช่วยพัดโบกและนำพาไข่ไปจนถึงตำแหน่งที่จะพบกับ อสุจิ ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์จนถึงจุดสุดยอด ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิซึ่งมีสเปิร์มถึง 400-500 ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง



     2. เมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง สเปิร์มจะผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและผ่านไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก โดยปกติอสุจิจะเดินทางด้วยอัตรา 2-3 มิลลิเมตรต่อนาที แต่สเปิร์มจะเคลื่อนที่ช้าลงในช่องคลอดที่มีสภาพเป็นกรด เคลื่อนที่เร็วขึ้นเมื่อผ่านจากปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกที่มีความเป็นด่าง ซึ่งกว่าอสุจิจะผ่านพ้นเข้าไปในท่อรังไข่ได้นั้น จำนวนอสุจิ 400-500 ล้านตัวในขณะหลั่ง จะเหลือรอดได้เพียงไม่กี่ร้อยตัวที่มีโอกาสไปผสมกับไข่ ส่วนหัวของอสุจิจะปล่อยสารย่อย (Enzyme) ซึ่งสามารถละลายผนังที่ห่อหุ้มปกป้องไข่ออกได้ จะมีอสุจิเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่เจาะเข้าสู่ไข่ได้สำเร็จ อสุจิตัวอื่น ๆ จะไม่สามารถเข้าไปได้อีก จากนั้นอสุจิจะสลัดหางและย่อยส่วนหัว เพื่อปลดปล่อยไมโครโซมทั้ง 23 แท่งที่บรรจุอยู่ภายในส่วนหัวเข้าสู่ไข่เพื่อจับคู่ของตัวเองกับไมโครโซมอีก 23 แท่งในไข่ และหลอมรวมตัวกันกลายเป็นเซลเซลเดียวเรียกว่า เกิดการปฏิสนธิขึ้น

     3.หลังเกิดการปฏิสนธิ เซลจะมีการแบ่งตัวทวีคูณในเวลาอันรวดเร็ว จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 ฯลฯ การแบ่งตัวจะเกิดอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผสมแล้ว เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ และภายใน 7 วัน จะเคลื่อนไปถึงตำแหน่งที่จะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ไข่ที่ผสมแล้วจะมีลักษณะกลม โดยประกอบด้วยเซลประมาณ 100 เซล เมื่อไข่ที่ผสมแล้ว(ตัวอ่อน)ฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งมีลักษณะนุ่มและ หนา เมื่อยึดเกาะกันมั่นคงดี จึงจะถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ ไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน) จะยื่นส่วนอ่อนนุ่มแทรกลึกลงไปในผนังมดลูกเพื่อสร้างทางติดต่อกับเลือกของ แม่ และจะเจริญเป็นรกสร้างสายสะดือและถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มต่อไป ซึ่งตัวอ่อนจะมีเนื้อเยื่อพิเศษ 3 ชั้น ซึ่งต่อไปแต่ละชั้นจะสร้างเป็นอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทารกน้อย
      4.เอ็มบริโอจะมีลักษณะทุกอย่างเหมือนกับคน และกระดูกในร่างกายจะเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแข็ง โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
     อายุ 3 สัปดาห์ เริ่มมีหัวใจ สมอง และกระดูกไขสันหลัง
     อายุ 4 สัปดาห์ เริ่มมี ตา ปุ่มแขน และปุ่มขา
     อายุ 5 สัปดาห์ ปุ่มแขนและปุ่มขาขยาายขนาดใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ
     อายุ 6 สัปดาห์ เริ่มมีหู
     อายุ 7 สัปดาห์ เริ่มมีแผดานในช่องปาก
     อายุ 8 สัปดาห์ เริ่มปรากฏอวัยวะเพศภายนอก กนะดูกในช่องปากเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดุกแข็ง และมีทุกอย่างเหมือนคน หลังจากนั้นเป็นการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆทั้งภายนอก และภายใน เพื่อให้สมบูรณ์ และพร้อมที่จะทำงานได้ อายุ 38 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน คลอดออกมาเป็นทารก

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเจริยเติบโตของทารกในครรภ์


ลักษณะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
 
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน คือ

 

1.ระยะไข่ตก (Ovulation) ได้แก่ ระยะ 2 สัปดาห์แรก ปกติเดือนหนึ่งจะมีไข่ตกเพียง 1 ฟองโดยประมาณช่วงกลางของรอบเดือน (วันที่ 12-16) ไข่จะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในท่อนำไข่ (ส่วนโป่ง) ถ้ามีการร่วมเพศในระยะนั้น อสุจิตัวหนึ่งจากจำนวนหลายล้านตัว จะเข้าผสมกับไข่ แล้วมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 เป็นต้น เมื่อมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น จะโตเป็นก้อนดูคล้ายผลน้อยหน่า ระยะนี้เรียกว่า ระยะมอรูลาร์ (Morular) แล้วผ่านเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ซึ่งเป็นระยะที่ไข่ผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและฝังตัว ตำแหน่งที่ไข่ฝังตัวนี้จะกลายเป็นรกในเวลาต่อมา เพื่อเป็นสื่อนำอาหารจากมารดามาเลี้ยงทารกในขณะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ 




2.ระยะคัพภะ (Embryo) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3-7 หรือ 8 เป็นระยะที่มีการสร้างอวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย (Organogenesis) เช่น หัวใจ ตา หู ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ แขน ขา เป็นต้น ระยะนี้เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุดสำหรับการติดเชื้อหรือการกินยา บางอย่าง เพราะอาจทำให้เด็กที่เกิดมานั้นพิการได้




 

         3.ระยะตัวอ่อน (Fetus) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ 7 หรือ 8-40 เป็นระยะของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นในระยะคัพภะเพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อตัวอ่อนคลอดมาเป็นทารก เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น  ในระยะตัวอ่อนนี้ เมื่ออายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ มีไข่เคลือบทั่ว อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานได้ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม  เมื่ออายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,600-2,000 กรัม เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะ การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนด ถ้าคลอดในระยะนี้มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น  เมื่ออายุครรภ์ครบ 36 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 45 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2,000-2,400 กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไป แต่ยังมีไขเคลือบอยู่ อวัยวะต่างๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่  และเมื่ออายุครบ 40 สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด อวัยวะต่างๆ ของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักตัวไม่ควรน้อยกว่า 2,500 กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มารดารู้สึกว่า "ท้องลด" หายอึดอัด สบายขึ้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น